วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2558

1-10

สรุปความรู้จากข้อสอบ O-NET ปีการศึกษา ๒๕๕๒

ใช้คำประพันธ์ต่อไปนี้ตอบคำถาม ข้อ ๑ – ๕
ก. โบราณว่าเป็นข้าจอมกษัตริย์
ข. ราชสวัสดิ์ต้องเพียรเรียนรักษา
ค. ท่านกำหนดจดไว้ในตำรา
ง. มีมาแต่โบราณช้านานครัน
เสียงประสม
๑. ข้อใดมีเสียงสระประสม 
      ๑. ข้อ ก         ๒. ข้อ ข
      ๓. ข้อ ค         ๔. ข้อ ง  
เหตุผลข้อ๒ สระประสมตามหลักภาษาศาสตร์ มี 3 เสียง คือ เอีย  เอือ  อัว ข้อ ข. มีคำว่า “เพียร  เรียน”
เสียงควบ
๒. ข้อใดมีคำที่ออกเสียงอักษรควบ
      ๑. ข้อ ก            ๒. ข้อ ข
      ๓. ข้อ ค           ๔. ข้อ ง
เหตุผลข้อ๔ อักษรควบ คือ คำที่ออกเสียงพยัญชนะต้นควบกับ อักษร “ร, ล, ว” ข้อที่ ๔ คือคำว่า “ครัน”
วรรณยุกต์
๓. ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์ครบ ๕ เสียง
      ๑. ข้อ ก             ๒. ข้อ ข
      ๓. ข้อ ค             ๔. ข้อ ง
เหตุผลข้อ๒
ก. โบราณว่าเป็นข้าจอมกษัตริย์ (สามัญ โท สามัญ โท สามัญ เอก เอก)ขาดเสียงตรี และจัตวา
ข. ราชสวัสดิ์ต้องเพียรเรียนรักษา(โท เอก เอก โท สามัญ สามัญ ตรี  จัตวา) ครบทุกเสียง
ค. ท่านกำหนดจดไว้ในตำรา(โท สามัญ เอก เอก ตรี สามัญ สามัญ สามัญ) ขาดเสียงจัตวา
ง. มีมาแต่โบราณช้านานครัน(สามัญ สามัญ เอก สามัญ สามัญ ตรี สามัญ สามัญ) ขาดเสียงจัตวา
อักษรต่ำ
๔. ข้อใดมีอักษรต่ำน้อยที่สุด (ไม่นับอักษรที่ซ้ำกัน)
     ๑. ข้อ ก         ๒. ข้อ ข
     ๓. ข้อ ค        ๔. ข้อ ง
เหตุผลข้อ๑ เขาต้องการถามพยัญชนะต้นที่เป็นอักษรต่ำน้อยที่สุดโดยไม่นับเสียงซ้ำ วิเคราะห์ได้ดังนี้
ข้อ ๑ ร.ว
ข้อ ๒ ร ช ว พ
ข้อ ๓ ท น ว ร
ข้อ ๔ ม ร ช น ค
อักษรนำ
๕. ข้อใดมีอักษรนำ
     ๑. ข้อ ก และ ข      ๒. ข้อ ข และ ค
     ๓. ข้อ ค และ ง      ๔. ข้อ ง และ ก
เหตุผลข้อ๒ ข. มีคำว่า สวัสดิ์ (อักษรสูงนำอักษรต่ำเดี่ยว)     ค. มีคำว่า  “หนด”(ห. นำอักษรต่ำเดี่ยว)
ตัวสะกด
๖. คำในข้อใดมีตัวสะกดมาตราเดียวกับ“เหตุผล” ทุกคำ
     ๑. พุดตานถอดถอนมลพิษ               ๒. มดเท็จคิดสั้นจัดการ
     ๓. ผลัดเวรบทกลอนโทษทัณฑ์        ๔. สวดมนต์จุดอ่อนทรัพย์สิน
เหตุผลข้อ๓ เนื่องจาก “เหตุผล” มีตัวสะกดมาตราแม่ กด และแม่ กน ตามลำดับ
ข้อ ๑ คำว่า มลพิษ ไม่ใช่ เพราะสะกดด้วยแม่ กน และแม่กด
ข้อ ๒ คำว่า มดเท็จ ไม่ใช่ เพราะสะกดด้วยแม่ กดทั้งสองพยางค์
ข้อ ๔ คำว่า ทรัพย์สิน ไม่ใช่ เพราะสะกดด้วยแม่ กบ และแม่กน
คำซ้ำ
๗. คำซ้ำในข้อใดต้องใช้เป็นคำซ้ำเสมอ
     ๑. คนงานใหม่ขยันเป็นพักๆเอาแน่ไม่ได้
     ๒. นักเรียนอนุบาลหกล้มหัวเข่าแตกเลือดไหลซิบๆ
     ๓. งานนี้ถึงจะได้เงินเดือนน้อยก็ทำไปพลางๆก่อนแล้วกัน
     ๔. ถ้าเราวางแผนให้ดีตั้งแต่แรกๆโครงการนี้ก็คงสำเร็จไปแล้ว
เหตุผลข้อ๑ หากไม่ใช่เป็นคำซ้ำ จะไม่ได้ความหมาย หรือ ความหมายอาจเปลี่ยนไปก็ได้  วิธีการคิดคือ ให้ลองอ่านและพิจารณาเอาเครื่องหมายไม้ยมกออกดูว่าได้ความหมายหรือไม่ หรือความหมายเปลี่ยนไปหรือไม่

คำซ้อน
๘. ข้อใดเป็นคำซ้อนทุกคำ
     ๑. ซ้ำซ้อน ซ่อนรูป ซักฟอก            ๒. ถ่องแท้ ถี่ถ้วน ถากถาง
     ๓. บีบคั้น เบียดเบียน เบาความ       ๔. แปรผัน เป่าหู โปรยปราย
เหตุผลข้อ๒
ข้อ ๑ คำว่า “ซ่อนรูป” เป็นคำประสม
ข้อ ๓ คำว่า “เบาความ” เป็นคำประสม
ข้อ ๔ คำว่า “เป่าหู” เป็นคำประสม
คำประสม
๙. ข้อความต่อไปนี้ส่วนใดมีคำประสมทั้ง ๒ ส่วน
๑) บริเวณสวนกว้างขวาง / ๒) มีสนามที่ได้รับการดูแลจากเทศบาลเมือง /
๓) มีประติมากรรมเป็นรูปเทพธิดาแสนงาม / ๔) มุมหนึ่งมีนาฬิกาแดดคอยบอกเวลา
     ๑. ส่วนที่ ๑ และ ๔                   ๒. ส่วนที่ ๒ และ ๓
    ๓. ส่วนที่ ๑ และ ๓                   ๔. ส่วนที่ ๒ และ ๔
เหตุผลข้อ๔ 
ส่วนที่ ๒ คำประสม คือคำว่า  “เทศบาลเมือง”  
ส่วนที่ ๔ คำประสมคือคำว่า  “นาฬิกาแดด”

๑๐. ข้อใดมีคำประสมทุกคำ
       ๑. คำขาด คำคม คำราม              ๒. เดินแต้ม เดินรถ เดินสะพัด
       ๓. น้ำป่า น้ำไหล น้ำมือ              ๔. ติดลม ติดใจ ติดขัด
เหตุผลข้อ๒
ข้อ ๑ คำว่า “คำราม” เป็น คำมูล
ข้อ ๓ คำว่า “น้ำไหล” เป็น กลุ่มคำ
ข้อ ๔ คำว่า “ติดขัด” เป็น คำซ้อน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น