วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2558

51-60

การแสดงเหตุผล
๕๑. ข้อใดเป็นโครงสร้างของการแสดงเหตุผลในข้อความต่อไปนี้
    เชื้อไข้หวัดใหญ่สามพันธุ์ใหม่แพร่ระบาดอย่างรวดเร็วจากคนสู่คน/ด้วยเป็นเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจๅและติดต่อกันได้ง่าย
         ๑. ข้อสนับสนุน   ข้อสนับสนุน   ข้อสรุป
         ๒. ข้อสนับสนุน   ข้อสรุป   ข้อสนับสนุน
         ๓. ข้อสรุป   ข้อสรุป   ข้อสนับสนุน
         ๔. ข้อสรุป   ข้อสนับสนุน  ข้อสนับสนุน
เหตุผลข้อ๔ ความคิดสำคัญซึ่งจะเป็นหลัก เป็นเกณฑ์หรือเป็นข้อเท็จจริง ซึ่งมีข้อสรุปรอรับอยู่ ความคิดหลักดังกล่าว จะทำให้ข้อสรุปนั้นหนักแน่น และน่าเชื่อถือ
โครงสร้างของการแสดงเหตุผล ต้องประกอบด้วย
๑. เหตุผล , ข้อรับรอง หรือ ข้อสนับสนุน
๒. ข้อสรุป

๕๒. ข้อใดมีการใช้เหตุผล
         ๑. การแพทย์แผนไทยมีรากฐานมาจากความพอดี หรือความสมดุลของชีวิตทั้งด้านการกินและการขับถ่าย
        ๒. ชีวิตคนทยยังคงผูกพันอยู่กับสมุนไพรและใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวันตรงตามตำราการแพทย์แผนไทย
        ๓. ถึงแม้ยาสมุนไพรหลายขนานจะให้ประโยชน์ในการรักษาโรค แต่ถ้าไม่จำเป็นควรหลีกเลี่ยง ไม่ควรกินพร่ำเพรื่อ
        ๔. คนไทยต้องเรียนรู้และสืบทอดการใช้พืชสมุนไพรเป็นยาและอาหารจากบรรพบุรุษคนเฒ่าคนแก่จำนวนมากมีสุขภาพดีและอายุยืน
เหตุผลข้อ๔ สามารถคิดให้เป็นวิธีแสดงเหตุผลได้ว่า (เพราะ) คนไทยเรียนรู้และสืบทอดการ
ใช้พืชสมุนไพรเป็นยาและอาหารจากบรรพบุรุษ คนเฒ่าคนแก่จำนวนมาก (จึง) มี
สุขภาพดีและอายุยืน
ข้อ ๑, ๒, ๓ ไม่มีการใช้เหตุผล
๕๓. ข้อใดมีวิธีการแสดงเหตุผลต่างกับข้ออื่น
        ๑. บัญยืนไม่อยากไปโรงเรียน เขาไม่สบายและไม่มีการบ้านไปส่งครู
        ๒. บุญเพ็ญร้องเพลงลูกทุ่งไพเราะมาก คุณครูส่งเธอเข้าแข่งขันกับโรงเรียนอื่น
        ๓. บุญมาอ่านหนังสือเรียนทุกวัน เขาอยากเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยให้ได้  
        ๔. ญรักษาตัดสินใจไปเรียนต่อต่างประเทศ คุณพ่อคุณแม่ทำกิจการร้านอาหารอยู่ที่นั่น
เหตุผลข้อ๒ มีวิธีแสดงเหตุผลดังนี้ (เพราะ) บุญเพ็ญร้องเพลงลูกทุ่งไพเราะมาก คุณครู (จึง) ส่งเธอเข้แข่งขันโรงเรียนอื่น
ข้อ ๑ มีวิธีแสดงเหตุผลดังนี้ บุญยืนไม่อยากไปโรงเรียน (เพราะ) เขาไม่สบายและไม่มีการบ้านไปส่งครู
ข้อ ๓ มีวิธีแสดงเหตุผลดังนี้ บุญมาอ่านหนังสือเรียนทุกวัน (เพราะ) เขาอยากเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยให้ได้ข้อ ๔ มีวิธีแสดงเหตุผลดังนี้ บุญรักษาตัดสินใจไปเรียนต่อต่างประเทศ (เพราะ) คุณพ่อคุณแม่ทำกิจการร้านอาหารอยู่ที่นั่น

ประเด็นโต้แย้ง
๕๔.  ข้อใดเป็นประเด็นโต้แย้งของข้อความต่อไปนี้
      มีข้อเสนอให้รัฐสภาพิจารณาแยกเป็นพื้นที่ ๓ อำเภอของจังหวัดเชียงใหม่ คือ ฝางแม่อาย ไชยปรากร จังหวัด ฝาง การตั้งจังหวัดหม่มีเกณฑ์ี่ต้องพิจารหลายอย่าง อาทิ  การทีพื้นที่ไม่น้อยกว่า ๕๐๐๐ ตารางกิโลเมตร ประชากรไม่น้อยกว่า ๖๐๐๐๐๐ คน อำเภอทั้ง ๓ ข้างต้นมีพื้นที่รวมทั้งสิ้น ๒๑๓๕ ตารางกิโลเมตร และมีประชากรรวม ๒๔๙๐๙๖ คน
         ๑. จังหวัดใหม่ควรชื่อ “จังหวัดฝาง”
         ๒.เกณฑ์การตั้งจังหวัดใหม่เหมาะสมหรือไม่
         ๓. พื้นที่  ๓ อำเภอควรแยกมาตั้งเป็นจังหวัดหรือไม่
         ๔. รัฐสภามีอำนาจในการตั้งจังหวัดใหม่หรือไม่
เหตุผลข้อ๓ พื้นที่ ๓ อำเภอควรแยกมาตั้งเป็นจังหวัดใหม่หรือไม่เป็นประเด็นโต้แย้ง ข้อ ๑, ๒, ๔ ไม่ใช่ประเด็นโต้แย้ง


ใช้ข้อความต่อไปนี้ตอบคำถาม ข้อ ๕๕ - ๕๖
ปัญหารุ่นพี่ใช้ความรุนแรงกับนักศึกษาใหม่เกิดเป็นประจำทุกปี ทั้งๆ ที่ก่อนปีการศึกษาใหม่จะเริ่มขึ้นผู้บริหารของกระทรวงศึกษาธิการก็ได้มีคำแนะนำไปยังสถาบันการศึกษาต่างๆ ถึงแนวทางการรับน้องที่จะไม่สร้างปัญหา ต่อจากนี้ผู้เกี่ยวข้อง คงต้องวางแผนและหาแนวทางแก้ไขปัญหาระยะยาว เพราะไม่ว่าจะเป็นรุ่นพี่รุ่นน้อง ต่างก็เป็นทรัพยากรบุคคลของประเทศ

การแสดงทัศนะ
๕๕. ข้อใดเป็นโครงสร้างการแสดงทรรศนะตามลำดับ
         ๑. ที่มา ข้อสรุป ข้อสนับสนุน
         ๒. ที่มา ข้อสนับสนุน ข้อสรุป
         ๓. ข้อสนับสนุน ข้อสรุป ที่มา
         ๔. ข้อสนับสนุน ที่มา ข้อสรุป
เหตุผลข้อ๑ ที่มา ข้อสรุป ข้อสนับสนุน
๕๖. การแสดงทรรศนะข้างต้นของผู้เขียนเกิดจากข้อใด
        ๑. ความรู้
       ๒. ความเชื่อ
       ๓. ค่านิยม
๔. ประสบการณ์
เหตุผลข้อ๔ โครงสร้างของการแสดงทรรศนะ ประกอบด้วยส่วนสำคัญ ๓ ส่วน คือ
๑. ที่มา คือ ส่วนที่เป็นเรื่องราวต่างๆที่ทำให้เกิดการแสดงทรรศนะ
๒. ข้อสนับสนุน คือ ข้อเท็จจริง หลักการ รวมทั้งทรรศนะหรือมติของผู้อื่น ที่ผู้แสดงทรรศนะนำมาใส่ เพื่อสนับสนุนทรรศนะของตน
๓. ข้อสรุป คือ สารสำคัญที่สุดของทรรศนะ อาจเป็นข้อเสนอแนะ ข้อวินิจฉัย หรือ ประเมินค่า
 ดังนั้น ข้อ ๔ เกิดจากประสบการณ์

การโน้มน้าวใจ
๕๗. ข้อใดไม่มีการโน้มน้าวใจ
        ๑. สถาบันอบรมการวางแผนการขายแบบเหนือชั้นทุกขั้นตอน
        ๒. ศูนย์หัวใจให้บริการตรวจวินิจฉัย รักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด
        ๓. ตลาดน้ำกลางเมืองหลวงที่ยังคงอนุรักษ์ภาพชีวิตแบบโบราณ
        ๔. กระจกส่องหน้าที่เพิ่มลูกเล่นเอาใจสุภาพสตรีผู้รักสวยรักงาม
เหตุผลข้อ๒  การโน้มน้าวใจ คือ การใช้ความพยายามที่จะเปลี่ยนความเชื่อ ทัศนคติค่านิยมและการกระทำของบุคคลอื่น ด้วยกลวิธีที่เหมาะสมให้มีผลกระทบใจบุคคลนั้น จนเกิดการยอมรับและยอมเปลี่ยนตามที่ผู้โน้มน้าวใจต้องการ
 ดังนั้น  ข้อ ๒ เป็นการให้ข้อเท็จจริง ด้วยการบอกกล่าวให้รู้
            ข้อ ๑ ข้อความว่า “แบบเหนือชั้นทุกขั้นตอน”โน้มน้าวใจ
            ข้อ ๓ ข้อความว่า “อนุรักษ์ภาพชีวิตแบบโบราณ” โน้มน้าวใจ
            ข้อ ๔ ข้อความว่า “เพิ่มลูกเล่นเอาใจสุภาพสตรีผู้รักสวยรักงาม” โน้มน้าวใจ
๕๘. ข้อความต่อไปนี้ ไม่ใช้ กลวิธีโน้มน้าวใจตามข้อใด
หมู่บ้านท่ามกลางธรรมชาติร่มรื่น อากาศบริสุทธิ์ เหมาะแก่การสร้างเสริมสุขภาพ
สภาพแวดล้อมดีเด่นจนมีรางวัล ๔ ปีซ้อนเป็นประกัน
        ๑. แสดงให้เห็นถึงความน่าเชื่อถือของข้อมูล
        ๒. ชี้ให้เห็นประโยชน์ของผู้รับสาร
      ๓. นำเสนอจุดเด่นของสินค้า
      ๔. ใช้คำเร้าอารมณ์
เหตุผลข้อ ๔ ไม่มีคำแสดงอารมณ์
             ข้อ๑  ข้อความ “รางวัล ๔ ปีซ้อนเป็นประกัน” แสดงให้เห็นถึงความน่าเชื่อถือของข้อมูล
             ข้อ ๒ ข้อความ “อากาศบริสุทธิ์เหมาะแก่การสร้างเสริมสุขภาพ” ชี้ให้เห็นประโยชน์ของผู้รับสาร
             ข้อ ๓ ข้อความทั้งหมด เป็นการนำเสนอจุดเด่นของสินค้า

ใช้ข้อความต่อไปนี้ตอบคำถาม ข้อ ๕๙ - ๖๐
๑) “ครูครับ ครูบอกชื่อบทละครผิดหรือเปล่าครับ”
๒) “ครูครับ บทละครเรื่องนั้นชื่ออภัยนุราชหรือเปล่าครับ”
๓) “ครูครับ บทละครเรื่องนั้นชื่ออภัยธิราชใช่หรือครับ”
๔) “ครูครับ ครูช่วยบอกชื่อบทละครอีกทีได้ไหมครับ”

๕๙. คำกล่าวของนักเรียนตามข้อใดเหมาะจะเติมในช่องว่างข้อความนี้
ครู : “นักเรียนรู้ไหม สุนทรภู่ท่านแต่งวรรณคดีไว้หลายสิบเรื่อง แต่ที่เป็น
บทละครมีเพียงเรื่องเดียวคือ อภัยธิราช”
นักเรียน : “............................................................”
ครู : “เออ ใช่จ้ะ จริงของเธอ ขอบใจนะจ๊ะ”
        ๑. ข้อ ๑)  ๒. ข้อ ๒)
       ๓. ข้อ ๓)  ๔. ข้อ ๔)
เหตุผลข้อ๒ ข้อความที่เหมาะจะเติมในช่องว่าง คือ “ครูครับ บทละครเรื่องนั้นชื่ออภัยนุราชหรือเปล่าครับ”
            ข้อ ๑ เป็นข้อที่แย้งอย่างมีน้ำเสียงตำหนิ
            ข้อ ๓, ๔ เป็นข้อความที่ไม่สอดคล้องกับคำกล่าวต่อมาของครู
การโต้แย้ง
๖๐. คำกล่าวของนักเรียนตามข้อใดเป็นการกล่าวแย้งเพื่อให้ข้อมูลที่ถูกต้อง
       ๑. ข้อ ๑)  ๒. ข้อ ๒)
      ๓. ข้อ ๓)  ๔. ข้อ ๔)
เหตุผลข้อ๒ “ครูครับ บทละครเรื่องนั้นชื่ออภัยนุราชหรือเปล่าครับ” เป็นการกล่าว
แย้งเพื่อให้ข้อมูลที่ถูกต้อง
             ข้อ ๑, ๓ กล่าวแย้งแต่ไม่ได้ให้ข้อมูลที่ถูกต้อง
             ข้อ ๔ ไม่ใช่คำกล่าวแย้ง และมิได้ให้ข้อมูล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น