วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2558

91-100

๙๑. ข้อใดเป็นเจตนาของผู้แต่งคำประพันธ์ต่อไปนี้
อันความคิดวิทยาเหมือนอาวุธ  ประเสริฐสุดซ่อนใส่เสียในฝัก
สงวนคมสมนึกใครฮึกฮัก  จึงค่อยชักเชือดฟันให้บรรลัย
        ๑. สอนให้รู้จักเลือกใช้อาวุธและสติปัญญาให้ถูกเวลา
        ๒. สอนเรื่องการใช้สติปัญญาและความรู้ให้ถูกจังหวะ
        ๓. แนะนำวิธีการใช้อาวุธให้เกิดผลดีตามความปรารถนา
        ๔. แนะนำวิธีการเก็บอาวุธเพื่อให้คมกริบเหมือนมีสติปัญญาอยู่เสมอ
เหตุผล ข้อ ๒ “ความคิด” และ “วิทยา” ในวรรคที่ ๑ หมายถึง การใช้สติปัญญาและความรู้ ซึ่งควรใช้ให้ถูกจังหวะ
            ข้อ ๑ คำว่า อาวุธ ใช้เป็นคำเปรียบเท่านั้น
            ข้อ ๓ ไม่ได้กล่าวถึงการใช้อาวุธ
            ข้อ ๔ ไม่ได้กล่าวถึงการเก็บรักษาอาวุธ
ใช้คำประพันธ์ต่อไปนี้ตอบคำถาม ข้อ ๙๒ - ๙๓

๑. อันผัวพี่ดีเหลือเป็นเนื้อหน่อ  เห็นต่อจะบุญหนักศักดิ์ใหญ่
 รูปร่างน้อยจ้อยอร่อยใจ  จงกอดไว้เถิดคะอย่าละวาง
๒. เออคะกระนั้นและจริงอยู่  รูปร่างผัวกูไม่สู้เหมาะ
 ที่ไหนจะงามพร้อมเหมือนหม่อมเงาะ  ใครเห็นก็หัวเราะว่ารูปงาม
๓. ถึงพี่จะรุ่งเรืองไปเบื้องหน้า  ก็ไม่พึ่งวาสนาอย่าอวดอ้าง
ดีแต่จะมาพานรานทาง ไม่อดสูใจบ้างหรืออย่างไร
๔. จึงออกมาว่ากับลูกสาว  ช่างทำความงามฉาวอีคนชั่ว
เสียยศเสียศักดิ์ไม่รักตัว  เลือกผัวได้เงาะเห็นเหมาะใจ

๙๒. ข้อใด ไม่มี น้ำเสียงประชด
         ๑. ข้อ ๑
         ๒. ข้อ ๒
         ๓. ข้อ ๓
         ๔. ข้อ ๔
เหตุผล ข้อ ๓ เป็นการต่อว่า
             ข้อ ๑ มีน้ำเสียงประชด เช่นคำว่า บุญหนักศักดิ์ใหญ่
             ข้อ ๒ มีน้ำเสียงประชด เช่นคำว่า ที่ไหนจะงามพร้อม
             ข้อ ๔ มีน้ำเสียงประชด เช่นคำว่า เหมาะใจ
๙๓. ข้อใด ไม่ได้ กล่าวถึงบุคคลที่ ๓
       ๑. ข้อ ๑
       ๒. ข้อ ๒
       ๓. ข้อ ๓
       ๔. ข้อ ๔
เหตุผล บุรษสรรพนาม  คือ  คำ  สรรพนามที่ใช้แทนผู้พูด  แบ่งเป็นชนิดย่อยได้  3  ชนิด  คือ
               ๑.๑  สรรพนามบุรุษที่ ๑  ใช้แทนตัวผู้พูด  เช่น  ผม  ฉัน  ดิฉัน  กระผม  ข้าพเจ้า  กู  เรา  ข้าพระพุทธเจ้า  อาตมา  หม่อมฉัน  เกล้ากระหม่อม
               ๑.๒  สรรพนามบุรุษที่ ๒  ใช้แทนผู้ฟัง  หรือผู้ที่เราพูดด้วย  เช่น  คุณ  เธอ  ใต้เท้า  ท่าน  ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท  ฝ่าพระบาท  พระคุณเจ้า
               ๑.๓  สรรพนามบุรุษที่ ๓  ใช้แทนผู้ที่กล่าวถึง  เขา  มัน  ท่าน  พระองค์ 
ดังนั้น ข้อ ๓ มีบุรุษสรรพนามเพียงคำเดียวคือ “พี่” ซึ่งเป็นบุคคลที่ ๑
            ข้อ ๑ ผัวพี่ เป็นคำที่กล่าวถึงบุคคลที่ ๓
           ข้อ ๒ ผัวกู หม่อมเงาะ เป็นคำที่กล่าวถึงบุคคลที่ ๓
            ข้อ ๔ ผัว เป็นคำที่กล่าวถึงบุคคลที่ ๓
๙๔. ข้อใดมีถ้อยคำแสดงอารมณ์ของตัวละคร
        ๑. ครั้นอ่านสารเสร็จสิ้นพระทรงฤทธิ์ ถอนฤทัยแล้วคิดสงสัย
        ๒. บุษบาจะงามสักเพียงไร จึงต้องใจระตูทุกบุรี
        ๓. เชิญเสด็จคลาไคลไปก่อน แล้วจึงค่อยผันผ่อนมากรุงศรี
        ๔. แม้นงามเหมือนจินตะหราวาตี ถึงจะเสียชีวีก็ควรนัก
เหตุผล ข้อ ๑ คำว่า ถอนฤทัย = ถอนใจ เป็นการแสดงอารมณ์หนักใจ
            ข้อ ๒ เป็นความสงสัยว่าบุษบางามเพียงใดเท่านั้น
            ข้อ ๓ กล่าวถึงการเชิญเสด็จไปแล้วกลับมายังกรุงศรี
            ข้อ ๔ เป็นคำรำพึงว่าถ้านางงามมากก็สมควรเอาชีวิตเข้าแลก
๙๕. ข้อใดตีความได้ตรงกับข้อความต่อไปนี้
ลาภยศถาบรรดาดีที่มีอยู่  รวยเลิศหรูอยู่เรือนทองสองล้านสาม
สมบัติมากลากไม่ไหวใครจะปราม  สุดท้ายหามแต่ร่างเน่าเท่านั้นเอง
        ๑. บางคนโชคดีได้ลาภยศและเงินทองโดยไม่มีใครขวางได้
        ๒. คนเราไม่ควรโลภมากเอาแต่ตักตวงความร่ำรวย ในที่สุดก็แบกไม่ไหว
        ๓. สมบัติทั้งหลายไม่ใช่สิ่งจีรังยั่งยืน มีความเปลี่ยนแปรอยู่เสมอ
        ๔. คนเราเมื่อถึงคราวตายก็เอาเกียรติยศและทรัพย์สินติดตัวไปไม่ได้
เหตุผล ข้อ ๔ วรรคสุดท้ายกล่าวถึงความตายที่เอาอะไรไปไม่ได้
            ข้อ ๑ เป็นความหมายของวรรคที่ ๑-๓ เท่านั้น
            ข้อ ๒ ไม่ได้กล่าวถึงความตายซึ่งเป็นจุดจบของทุกสิ่ง
            ข้อ ๓ กล่าวถึงเฉพาะสมบัติว่าไม่ยั่งยืน
๙๖. ข้อใด ไม่ได้ กล่าวถึงในคำประพันธ์ต่อไปนี้
ชนใดมีชาติเชื้อ  เลวทราม
เพียรอุตส่าห์พยายาม  หมั่นหมั้น
อยู่บดอยู่ฝนความ   รู้แก่ เกินแฮ
กลับยศใหญ่ยิ่งชั้น   เช่นเชื้อผู้ดี
       ๑. คนเราควรตั้งอยู่ในความขยันหมั่นเพียร
       ๒. การแสวงหาความรู้เป็นประจำนำไปสู่ความสำเร็จ
       ๓. คนนิสัยเลวอาจเปลี่ยนกลับกลายเป็นคนนิสัยดีได้
       ๔. คนที่มีกำเนิดต่ำอาจพัฒนาจนเปลี่ยนสถานภาพให้สูงขึ้นได้
เหตุผล ข้อ ๓ ในโคลงบทนี้ไม่ได้กล่าวถึงการที่คนเลวเปลี่ยนเป็นคนดี
            ข้อ ๑ บาทที่ ๒ กล่าวถึงความเพียร
            ข้อ ๒ บาทที่ ๒, ๓, ๔ กล่าวถึงการพยายามหาความรู้ซึ่งนำไปสู่ความสำเร็จ
            ข้อ ๔ บาทที่ ๔ กล่าวถึงการเปลี่ยนสถานภาพ
๙๗. คำประพันธ์ในข้อใดกล่าวถึงสิ่งที่แสดงวัฒนธรรมไทย
        ๑. ยาตรยาตรบาทห่อนกระชั้น                ช่วงเท้าเทาเสมอ
        ๒. แก้วก่องทองสลับล้วน  ร่วงรุ้งเรืองแสง
        ๓. แห่อยู่สองข้างเข้า  คู่คล้อยเคียงไคล
        ๔. บังแทรกสองคู่สล้าย  สลับริ้วฉัตรเรียง
เหตุผล ข้อ ๔ บังแทรกและฉัตร เป็นเครื่องสูงของเจ้านายในวัฒนธรรมไทย
            ข้อ ๑, ๒, ๔ ไม่มีคำใดแสดงวัฒนธรรมไทย
๙๘. คำประพันธ์ในข้อใด ไม่ แสดงความเชื่อของคนไทย
        ๑. ชาตินี้มึงมีแต่สองหัตถ์       จงไปอุบัติเอาชาติใหม่
        ๒. ถ้าวาสนาเราเคยบำรุงรัก      ก็จะเป็นภักษ์ผลสืบไป
        ๓. กรรมเวรสิ่งใดดังนี้      ทูลพลางโศกีรำพัน
        ๔. จะได้รองเบื้องบาทา       ไปกว่าจะสิ้นชีวี
เหตุผล ข้อ ๔ “จะอยู่รับใช้ไปจนกว่าจะตาย” ไม่ได้แสดงความเชื่อใดๆ
            ข้อ ๑ “เกิดชาติใหม่” เป็นความเชื่อของคนไทย
            ข้อ ๒ “วาสนา” เป็นความเชื่อของคนไทย
            ข้อ ๓ “กรรมเวร” เป็นความเชื่อของคนไทย
๙๙. ข้อใดมีชื่อดอกไม้มากที่สุด
       ๑. ชมสร้อยฟ้าสารภียี่สุ่นเทศ
       ๒. พิกุลบุนนาคนมสวรรค์
       ๓. กิ่งกาหลงชงโคมะลิวัลย์
       ๔. เกดแก้วจำปามหาหงส์
เหตุผล ข้อ ๔ ชื่อดอกไม้ = เกด, แก้ว, จำปา, มหาหงส์ รวม ๔ ชื่อ
            ข้อ ๑ ชื่อดอกไม้ = สร้อยฟ้า, สารภี, ยี่สุ่นเทศ รวม ๓ ชื่อ
            ข้อ ๒ ชื่อดอกไม้ = พิกุล, บุนนาค, นมสวรรค์ รวม ๓ ชื่อ
            ข้อ ๓ ชื่อดอกไม้ = กาหลง, ชงโค, มะลิวัลย์ รวม ๓ ชื่อ
๑๐๐. ข้อใด ไม่ได้ กล่าวถึง “ช้าง”
         ๑. งามเร่งงามโทท้าว  ท่านสู้ศึกสาร
         ๒. สารทรงราชรามัญ  ลงล่าง แลนา
         ๓. ไพเราะราชสุภา                ษิตสื่อ สารนา
         ๔. ตรึกอกพกตกขว้ำ  อยู่เบื้องบนสาร
เหตุผล ข้อ ๓ “สาร” ในข้อนี้หมายถึง “ข้อความ”
            ข้อ ๑, ๒, ๔     “สาร” ในข้อนี้แปลว่า “ช้าง”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น