วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2558

11-20

คำสมาส
๑๑. ข้อใดไม่มีคำสมาส
       ๑. วิสุทธโยธามาตย์เจ้า กรมขวา
       ๒. หนึ่งชื่อราชโยธา เทพซ้าย
       ๓. ตำแหน่งศักดิ์ยศถา เสถียรที่
       ๔. คุมพยุหยาตราย้าย ย่างเข้าตามสถาน
เหตุผลข้อ๓ ไม่มีคำสมาส คำว่า “ศักดิ์ยศถา” ดูคล้ายคำสมาส แต่ไม่ใช่ เป็นการเรียงคำ
เท่านั้น
ข้อ๑ “โยธามาตย์” เป็นคำสมาส ข้อ ๒ “ราชโยธา” เป็นคำสมาส ข้อ๔ “พยุหยาตรา” เป็นคำสมาส
๑๒. ข้อใดมีคำสมาสที่มีการสร้างคำต่างกับข้ออื่น
       ๑. ขับคเชนทร์สาวก้าว ส่ายเสื้องเทาทาง
       ๒. สถานที่พุทธบาทสร้าง สืบไว้แสวงบุญ
       ๓. สุธารสรับพระเต้า เครื่องต้นไปตาม
       ๔. โดยเสด็จดำเนินแคล้ว คลาดคล้อยบทจร
หตุผลข้อ๑ คำว่า “คเชนทร์” เป็นคำสมาสแบบมีสนธิซึ่งต่างกับข้ออื่น
ข้อ๒ “พุทธบาท” เป็นคำสมาสแบบไม่มีสนธิ
ข้อ๓ “สุธารส” เป็นคำสมาสแบบไม่มีสนธิ
ข้อ๔ “บทจร” เป็นคำสมาสแบบไม่มีสนธิ
การสร้างคำและการสะกดคำ
๑๓. ข้อใดสะกดถูกทุกคำ
       ๑. เขากินอาหารมังสวิรัตทุกวันพุธมาสามปีแล้ว
      ๒. ที่ปากทางเข้าหมู่บ้านมียามรักษาการอยู่ตลอดเวลา
      ๓. คนที่ซื้อทองรูปพรรณต้องจ่ายเงินค่ากำเหน็จด้วย
      ๔. เพื่อนเห็นเขานั่งหลับจึงถามว่าเข้าฌานถึงชั้นไหนแล้ว
เหตุผลข้อ๓ คำว่า “กำเหน็จ” สะกดถูกต้อง หมายถึง ค่าจ้างทำเครื่องเงินหรือทองรูปพรรณ
ข้อ๑ คำว่า “มังสวิรัต” สะกดผิด ที่ถูกคือ “มังสวิรัติ” เพราะ วิรัติ หมายถึงงดเว้น,เลิก
ข้อ๒ คำว่า “รักษาการ” สะกดผิด ที่ถูกคือ “รักษาการณ์” หมายถึง เฝ้าดูแลเหตุการณ์
ข้อ๔ คำว่า “เข้าฌาณ” สะกดผิด ที่ถูกคือ “เข้าฌาน” ฌาน หมายถึงภาวะที่จิตสงบแน่วแน่
๑๔. ข้อใดมีคำสะกดผิด
       ๑. ดาวพระศุกร์ที่เห็นในเวลาเช้ามืดเรียกว่าดาวประกายพรึก
      ๒. ในสวนสาธารณะมีคนมาออกกำลังกายกันอยู่ประปราย
      ๓. กระบะที่ลงรักแบบญี่ปุ่นและจีนเรียกว่าเครื่องกำมะลอ
      ๔. ในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทุกครอบครัวต้องกระเบียดกระเสียน
เหตุผลข้อ๔ คำว่า “กระเบียดกระเสียน” สะกดผิด ที่ถูกคือ “กระเบียดกระเสียร”
หมายถึง พยายามใช้อย่างจำกัดจำเขี่ย
 

ใช้ข้อความในพจนานุกรมต่อไปนี้ตอบคำถาม ข้อ ๑๕-๑๖
๑๕. มีคำที่เป็นคำตั้งหรือแม่คำกี่คำ
       ๑. ๓ คำ         ๒. ๔ คำ         ๓. ๕ คำ         ๔. ๖ คำ
เหตุผลข้อ๓ มีคำตั้ง  5 คำ คือ จวัก จอ1 จอ2 จ่อ 1 จ่อ 2 คำตั้ง หมายถึงคำที่ยกขึ้นตั้งเพื่อนิยามความหมาย ในการทำพจนานุกรม
๑๖. มีคำที่ระบุว่าใช้เฉพาะแห่งกี่คำ
       ๑. ๑ คำ         ๒. ๒ คำ         ๓. ๓ คำ         ๔. ๔ คำ
เหตุผล ข้อ๒ มี ๒ คำ คือ จ่อคิว (ปาก) และจ่อ2 (ถิ่น-อีสาน) เพราะ (ปาก) และ
(ถิ่น) ในพจนานุกรมระบุว่าเป็นคำบอกลักษณะของคำที่ใช้เฉพาะแห่ง

คำในภาษาอังกฤษและภาษาไทย
๑๗. คำภาษาอังกฤษในข้อใดใช้คำไทยแทนไม่ได้
       ๑. จินดาทำข้อสอบหลายวิชาจนรู้สึกเบลอร์ไปหมด
      ๒. จิตราเป็นดีไซเนอร์ประจำห้องเสื้อที่มีชื่อเสียง
      ๓. จินตนาไปหาหมอเพื่อใช้แสงเลเซอร์รักษาผิวหน้า
      ๔. จิตรลดาเป็นวิสัญญีแพทย์ระดับอินเตอร์ของโรงพยาบาลนี้
เหตุผล ข้อ๓ คำว่า “เลเซอร์” ไม่มีคำไทยใช้
ข้อ๑ คำว่า “เบลอร์” ใช้คำว่า งุนงง แทนได้
ข้อ๒ คำว่า “ดีไซเนอร์” ใช้คำว่า นักออกแบบ แทนได้
ข้อ๔ คำว่า “อินเตอร์” ใช้คำว่า สากล แทนได้
๑๘. ข้อใดเป็นคำศัพท์บัญญัติจากคำภาษาอังกฤษทุกคำ
       ๑. จุลทรรศน์ จุลินทรีย์ จุลกฐิน         ๒. สังคม สังเคราะห์ สังโยค
       ๓. สมมาตร สมมุติฐาน สมเพช         ๔. วิกฤตการณ์ วิจัย วิสัยทัศน์
เหตุผลข้อ๔ คำว่า “วิกฤตการณ์” บัญญัติศัพท์มาจาก crisis “วิจัย” บัญญัติมา
จาก research “วิสัยทัศน์” บัญญัติศัพท์มาจาก vision
ข้อ๑ คำว่า “จุลกฐิน” ไม่ใช่คำที่มาจากภาษาอังกฤษ เป็นคำสมาส
ข้อ๒ คำว่า “สังโยค” ไม่ใช่คำที่มาจากภาษาอังกฤษเป็นคำที่มาจากภาษาบาลี-สันสกฤต
ข้อ๓ คำว่า”สมเพช” ไม่ใช่คำที่มาจากภาษาอังกฤษเป็นคำที่มาจากภาษาบาลี-สันสกฤต 


คำภาษาบาลีสันสกฤต และการยืมคำ
๑๙. ข้อใดไม่มีคำยืมภาษาบาลีสันสกฤต
ก. วันจะจรจากน้องสิบสองค่ำ
ข. พอจวนย่ำรุ่งเร่งออกจากท่า
ค. รำลึกถึงดวงจันทร์ครรไลลา
ง. พี่ตั้งตาแลแลตามแพราย
    ๑. ข้อ ก และ ข         ๒. ข้อ ก และ ค
    ๓. ข้อ ข และ ง         ๔. ข้อ ค และ ง
เหตุผลข้อ๓ เพราะข้อ ข และ ง ทุกคำเป็นคำไทย
ข้อ๑ ข้อ ก มีคำว่า “จร” เป็นคำยืม
ข้อ๒ ข้อ ก มีคำว่า “จร” เป็นคำยืม ข้อ ค มีคำว่า “จันทร์” เป็นคำยืม
ข้อ๔ ข้อ ค มีคำว่า “จันทร์” เป็นคำยืม

ลักษณะนาม
๒๐. ข้อใดใช้คำลักษณนามไม่ถูกต้อง
        ๑. เขาสามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขของหน่วยงานได้ครบทุกข้อ
       ๒. นักวิชาการเสนอข้อคิดเห็นไว้ในบทสรุปของรายงานหลายประการ
       ๓. รัฐบาลมีปัญหาเร่งด่วนที่ต้องรีบแก้ไขหลายเรื่อง
       ๔. คณะกรรมการกำลังพิจารณาคำขวัญที่ส่งเข้าประกวด ๕๐ บท
เหตุผลข้อ๔ คำขวัญ ต้องใช้ลักษณะนามว่า “คำขวัญ”ตามข้อกำหนดของราชบัณฑิตยสถาน
ข้อ๑  เงื่อนไข ใช้ลักษณะนามว่า “ข้อ” ถูกต้อง
ข้อ๒ ข้อคิดเห็น ใช้ลักษณะนามว่า “ประการ” ถูกต้อง
ข้อ๓  ปัญหา ใช้ลักษณะนามว่า “เรื่อง” ถูกต้อง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น