วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2558

41-50

การเขียนจดหมายและการเขียนชักชวน
๔๑. ข้อความส่วนใดเหมาะจะใช้ในจดหมายกิจธุระ
๑) พร้อมกันนี้ผมขออนุญาตส่งเอกสารเกี่ยวกับการพัฒนาสินค้ามาให้ดูเผื่อจะเป็น
ประโยชน์กับสมาชิก / ๒) ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าท่านจะต้องดำเนินการผลิตตาม
หลักการใหม่นี้จึงจะส่งสินค้ามาขายได้ / ๓) รายละเอียดอื่นๆ เกี่ยวกับการพัฒนาสินค้า
มีอยู่อีกมากที่ศูนย์ฯ ถ้าท่านจะแวะไปก็ยินดีต้อนรับ / ๔) หากท่านมีข้อข้องใจสามารถ
ติดต่อได้ในเวลาทำการ ตามหมายเลขโทรศัพท์ท้ายจดหมายนี้
       ๑. ส่วนที่ ๑
       ๒. ส่วนที่ ๒
       ๓. ส่วนที่ ๓
       ๔. ส่วนที่ ๔
เหตุผลข้อ๔ ส่วนที่ ๔  มีถ้อยคำเหมาะสมสำหรับใช้ในจดหมายกิจธุระ
ข้อ ๑ มีข้อความที่ไม่เหมาะสมกับจุดหมายกิจธุระ ๒ แห่ง คือ “ขออนุญาตส่งเอกสาร”(ไม่ต้องขออนุญาต) “เผื่อ” (เป็นคำที่ไม่เป็นทางการ)
ข้อ ๒  มีข้อความที่ไม่เหมาะสมกับจุดหมายกิจธุระ ๒ แห่ง คือ “ไม่ได้หมายความว่า“และส่งสินค้ามาขายได้” (เป็นคำที่ไม่เป็นทางการ)
ข้อ ๓ มีข้อความที่ไม่เหมาะสมกับจุดหมายกิจธุระ ๒ แห่ง คือ “มีอยู่อีกมาก” และ“ถ้าจะแวะไปก็ยินดีต้อนรับ” (เป็นคำที่ไม่เป็นทางการ)

๔๒. ประกาศต่อไปนี้ขาดความชัดเจนในเรื่องใด                                                                                          
โรงพยาบาลชีวีสุขเปิดบริการตรวจโรคนอกเวลาสำหรับสตรีที่มีอาการวัยทองและมีอาการประจำเดือนผิดปกติตรวจโดยแพทย์นรีเวชผู้เชี่ยวชาญณ ชั้น ๗ อาคาร ๑๐๐ ปี นัดหมายล่วงหน้าโทร. ๐๒๑๑๑๑๑๑๑                      
     ๑. กลุ่มเป้าหมาย  ๒. สถานที่ติดต่อ                                                                                                  
    ๓. เวลาดำเนินการ            ๔. ผู้ดำเนินการ                                                                                                             
  เหตุผลข้อ๓ ประกาศดังกล่าวขาดความชัดเจนในเรื่องเวลาดำเนินการ เพราะไม่ได้ระบุระยะเวลาเลย

เรียงลำดับข้อมูลที่เหมาะสม
๔๓. เมื่อพิจารณาการใช้ภาษาแสดงลำดับความในคำอธิบายวิธีทำอาหารต่อไปนี้แล้ว
ข้อใดเป็นขั้นตอนที่ต่อจากข้อ ๔
๑) ปั้นทอดมันเป็นแผ่นกลม นำไปทอดจนสุก
๒) ใส่ไข่ไก่ ถั่วฝักยาวซอย ใบมะกรูดซอย นวดต่อไป
๓) ผสมเนื้อปลากรายกับน้ำพริกแกงเผ็ด นวดให้เข้ากัน
๔) พรมน้ำเกลือทีละน้อยขณะนวด แล้วนวดจนเหนียวได้ที่
๕) ตักทอดมันขึ้นพักไว้ให้สะเด็ดน้ำมัน เสิร์ฟพร้อมอาจาด
         ๑. ข้อ ๑  ๒. ข้อ ๒
         ๓. ข้อ ๓  ๔. ข้อ ๕
เหตุผลข้อ๑ ข้อ ๑ เป็นขั้นตอนที่ต่อจากข้อ ๑
ขั้นตอนทั้งหมดในการทำอาหารเรียงลำดับดังนี้ ข้อ ๓ ๒ ๔ ๑ ๕
๔๔. ข้อความต่อไปนี้ไม่เหมาะที่จะเป็นประโยคแรกในส่วนใดของเรียงความเรื่อง“อาหารไทย”      
 วัฒนธรรมการกินอาหารของคนไทยดังกล่าวเกิดจากการประสานภูมิปัญญาด้านอาหารจากหลายๆ ชาติมาดัดแปลงให้เป็นอาหารไทย                                                                                                                                            ๑. ส่วนนำเรื่อง                 ๒. ส่วนขยายความ                                                                                                 
๓. ส่วนสรุปเรื่อง             ๔. การยกตัวอย่าง                                                                                               
  เหตุผลข้อ๑ ข้อความที่ยกมาไม่เหมาะจะเป็น ประโยคแรกของส่วนนำเรื่องเพราะมีคำว่า “ดังกล่าว” ซึ่งเป็นการอ้างถึงข้อความอื่นที่น่าจะกล่าวถึงมาก่อนข้อความที่มีคำว่า “ดังกล่าว” อาจใช้เป็นประโยคแรกของส่วนขยายความได้ข้อ ๓ ข้อความที่มีคำว่า “ดังกล่าว” อาจใช้เป็นประโยคแรกของส่วนสรุปเรื่องได้ข้อ ๔ ข้อความที่มีคำว่า “ดังกล่าว” อาจใช้เป็นประโยคแรกของการยกตัวอย่างได้

ใช้ข้อความต่อไปนี้ตอบคำถาม ข้อ ๔๕ - ๔๖
๑) พระอาจารย์ถวายพระอักษร พระเจ้าลูกเธอในรัชกาลที่ ๒ และเป็นกวีในราชสำนักที่พระองค์โปรดมาก
๒) กวีผู้เป็นเลิศในการแต่งกลอนแปด มีผลงานทั้งประเภทนิราศ นิทาน บทละครบทเสภาและสุภาษิต
๓) เกิดในรัชกาลที่๑ บริเวณสถานีรถไฟบางกอกน้อย ในปัจจุบัน ถวายตัวเป็นข้าในกรมพระราชวังหลังตั้งแต่ยังเด็ก
๔) ในรัชกาลต่อมาไม่ได้รับราชการจึงออกบวช ได้รับพระอุปการะจากสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ช่วงนี้แต่งวรรณคดีไว้หลายเรื่อง
๕) องค์การยูเนสโกประกาศยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญที่มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมระดับโลก

๔๕. ข้อใดเป็นการเรียงลำดับข้อมูลที่เหมาะสมสำหรับเรียงความเรื่อง “สุนทรภู่กวีเอกของโลก”
         ๑. ๓ - ๕ - ๒ - ๑ - ๔
         ๒. ๒ - ๓ - ๑ - ๔ - ๕
         ๓. ๒ - ๕ - ๓ - ๑ - ๔
         ๔. ๓ - ๑ - ๔ - ๒ - ๕
เหตุผลข้อ๔ ลำดับที่ถูกต้องเหมาะสมของเรียงความสุนทรภู่ มีดังนี้ ๓–๑–๔–๒–๕
๔๖. ข้อมูลส่วนใดมีความสำคัญน้อยที่สุดสำหรับเรียงความเรื่อง “สุนทรภู่ กวีเอกของโลก”
        ๑. ส่วนที่ ๑  ๒. ส่วนที่ ๓
        ๓. ส่วนที่ ๔               ๔. ส่วนที่ ๕
เหตุผลข้อ๒ ส่วนที่ ๓ มีความสำคัญน้อยที่สุด เพราใจความไม่ได้สนับสนุนความเป็นกวีเอกของโลกของสุนทรภู่
ข้อ ๑ ส่วนที่ ๑ มีใจความส่วนหนึ่งกล่าวถึงความสามารถในเชิงกวีที่ได้รับยกย่องในรัชกาลที่ ๒
ข้อ ๓ ส่วนที่ ๔ มีใจความส่วนหนึ่งกล่าวถึงผลงานทางวรรณคดีที่ได้สร้างไว้หลายเรื่อง
ข้อ ๔ ส่วนที่ ๕ มีใจความทั้งหมดกล่าวถึงการยกย่องให้เป็นกวีในระดับโลก

๔๗. ข้อใดนำมาเติมในช่องว่างต่อไปนี้ตามลำดับแล้วได้ความเหมาะสม
....................ขอให้เลขานุการอ่านรายชื่อ.........................และรายงานการประชุม
ครั้งที่แล้ว หลังจากนั้นก็ดำเนินการประชุมไปตาม......................ต่อไป
         ๑. ที่ปรึกษา ผู้มีสิทธิ์เข้าประชุม ญัตติต่างๆ
         ๒. ประธาน ผู้เข้าประชุม ระเบียบวาระ
         ๓. ประธาน ผู้จัดประชุม ประเด็นต่างๆ
         ๔. ที่ปรึกษา องค์ประชุม เรื่องสำหรับประชุม
เหตุผลข้อ๒ “ประธาน ผู้เข้าประชุม ระเบียบวาระ” เป็นคำที่เหมาะสมที่ใช้เติมใน
ช่องว่างที่เว้นไว้ เพราะเป็นศัพท์เฉพาะที่ใช้สำหรับการประชุม
ข้อ ๑, ๔ ทั้ง ๓ คำไม่ใช่ศัพท์ที่ถูกต้องสำหรับการประชุม และมีความหมายไม่ถูกต้องตามระเบียบการประชุม
ข้อ ๓ “ผู้จัดประชุม” และ “ประเด็นต่าง ๆ” ไม่ใช่ศัพท์ที่ถูกต้องเหมาะสมแก่ระเบียบการประชุม

๔๘. ข้อใดใช้พรรณนาโวหาร
        ๑. ฝนตกกระหน่ำจนลืมหูลืมตาไม่ขึ้น เสื้อผ้าเปียกปอนลีบเข้าแนบลำตัว
        ๒. ไฟฟ้าดับมืดตลอดแนวถนนเนื่องจากเสาไฟฟ้าล้มเอียงลงมาตามๆ กันร่วม ๑๐ ต้น
        ๓. กิ่งไม้หักเกลื่อนถนนหลายสายหลังจากพายุฝนสงบลง
        ๔. รถยนต์จอดนิ่งอยู่หลายคัน แล่นต่อไปไม่ได้ต้องรอให้พายุสงบก่อน
เหตุผลข้อ๑ ถ้อยคำที่ใช้ทำให้เห็นภาพชัดเจนและได้ความรู้สึก มีคำขยาย และความเปรียบหลายคำ เช่น “กระหน่ำ” “จนลืมหูลืมตาไม่ขึ้น” “เปียกปอน”“ลีบเข้าแนบลำตัว” เหมาะสมแก่พรรณนาโวหาร
ข้อ ๒, ๓, ๔ ถ้อยคำที่ใช้ทำให้เห็นภาพอย่างตรงไปตรงมา เหมาะแก่บรรยายโวหาร

๔๙. ข้อใดใช้บรรยายโวหาร
        ๑. นักร้องประสานเสียงเปล่งเสียงพร้อมเพรียงกันเป็นสามระดับตามทำนองที่ฝึกฝนมาอย่างดี
        ๒. เพลงเอกของรายการดังกระหึ่มก้องหอประชุม สะกดคนฟังให้เคลิบเคลิ้ม
        ๓. เสียงเปียโนไล่เรียงขึ้นลงอย่างแจ่มใสชวนให้นึกถึงละอองน้ำที่โปรยปรายลงมา
        ๔. ทำนองเพลงตอนท้ายเบาหวิววูบหายจนคนฟังต้องกลั้นหายใจตามไปด้วย
เหตุผลข้อ๑ ถ้อยคำที่ใช้ทำให้เห็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างตรงไปตรงมาเหมาะ
แก่บรรยายโวหาร
ข้อ ๒ ถ้อยคำที่ใช้มีคำขยายและศัพท์บางคำที่ทำให้เกิดอารมณ์ของเหตุการณ์ เช่น กระหึ่ม สะกด เคลิบเคลิ้ม
ข้อ ๓ ถ้อยคำที่ใช้มีคำขยายและความเปรียบหลายแห่งที่ทำให้เกิดอารมณ์ของเหตุ-การณ์ เช่น ไล่เรียง แจ่มใส ละอองน้ำที่โปรยปราย
ข้อ ๔ ถ้อยคำที่ใช้มีคำขยายและความเปรียบหลายแห่งที่ทำให้เกิดอารมณ์ของเหตุการณ์ เช่น เบาหวิว วูบหาย คนฟังกลั้นหายใจ

๕๐. ข้อความต่อไปนี้ใช้วิธีอธิบายตามข้อใด
คำว่า สึนามิในภาษาญี่ปุ่นหมายถึงคลื่นอ่าวจอดเรือ (harbor wave) เนื่องจาก
ประเทศญี่ปุ่นมีภูมิประเทศเป็นเกาะมีชายฝั่งทะเลยาว ตามชายฝั่งมีอ่าวใหญ่น้อย
อยู่มาก หากเป็นอ่าวแคบๆ ซึ่งเป็นที่จอดเรือความรุนแรงของคลื่นสึนามิจะมีมาก
ขึ้นอีกหลายเท่า
        ๑. นิยาม และให้ตัวอย่าง
        ๒. นิยาม และให้เหตุผล
        ๓. ให้ตัวอย่าง และเปรียบเทียบ
        ๔. ให้เหตุผล และเปรียบเทียบ
เหตุผลข้อ๒ ประโยคแรกเป็นคำนิยาม(ให้ความหมาย) ของคำว่า สึนามิ ข้อความต่อจากนั้นเป็นการให้เหตุผลของการได้ความหมายดังกล่าว
ข้อ ๑ มีนิยาม แต่ไม่มีตัวอย่าง
ข้อ ๓ ไม่มีทั้งตัวอย่างและการเปรียบเทียบ
ข้อ ๔ มีการให้เหตุผลแต่ไม่มีการเปรียบเทียบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น