วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2558

31-40

สำนวน
๓๑. สำนวนในข้อใดเหมาะสมที่จะเติมในช่องว่างของข้อความต่อไปนี้
พวกเราทำรายงานกันแทบตาย ส่วนเธอไม่ช่วยทำอะไรเลยแม้แต่จะหาข้อมูล
พอเสร็จแล้วจะมา........................ขอลงชื่อว่าทำกลุ่มเดียวกับเราได้อย่างไร
        ๑. เก็บดอกไม้ร่วมต้น  ๒. เก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน
        ๓. ตกกระไดพลอยโจน  ๔. ชุบมือเปิบ
เหตุผลข้อ๔ “ชุบมือเปิบ”เป็นสำนวน หมายถึง ฉวยประโยชน์จากคนอื่นโดยไม่
ได้ลงทุนลงแรง ซึ่งเหมาะสมที่จะเติมในข้อความ
ข้อ ๑ “เก็บดอกไม้ร่วมต้น” หมายถึง เคยทำบุญกุศลร่วมกันมาแต่ชาติ ก่อน จึงมาอยู่ร่วมกันในชาตินี้
ข้อ ๒ “เก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน” หมายถึง เก็บเล็กผสมน้อย, ทำอะไรที่ประกอบ
ด้วยส่วนเล็กส่วนน้อย โน่นบ้างนี่บ้างจนสำเร็จเป็นรูปร่างขึ้นมา
ข้อ ๓ “ตกกระไดพลอยโจน” หมายถึง จำเป็นที่จะต้องยอมเข้าไปเกี่ยว
ข้องกับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นเมื่อไม่มีทางเลี่ยง
๓๒. สำนวนในข้อใดไม่เกี่ยวกับการพูด
        ๑. พอก้าวขาก็ลาโรง
       ๒. ละเลงขนมเบื้องด้วยปาก
       ๓. ไปไหนมาสามวาสองศอก
       ๔. น้ำร้อนปลาเป็น น้ำเย็นปลาตาย
เหตุผลข้อ๑ “พอก้าวขาก็ลาโรง” หมายถึง ชักช้าทำให้เสียการ ซึ่งไม่เกี่ยวกับการพูด
ข้อ ๒ “ละเลงขนมเบื้องด้วยปาก” หมายถึง ดีแต่พูด แต่ทำไม่ได้
ข้อ ๓ “ไปไหนมาสามวาสองศอก” หมายถึง ถามอย่างหนึ่งตอบไปอีกอย่าง
หนึ่ง
ข้อ ๔ “น้ำร้อนปลาเป็น” หมายถึง คำพูดที่ตรงไปตรงมา ฟังไม่ไพเราะ เป็น
การเตือนให้ระวังตัวแต่ไม่เป็นพิษเป็นภัย “น้ำเย็นปลาตาย” หมายถึง คำพูด
ที่ไพเราะอ่อนหวานทำให้ตายใจ อาจเป็นโทษเป็นภัยได้

๓๓. ข้อความต่อไปนี้ส่วนใดใช้ภาษาต่างระดับกับส่วนอื่น
๑) สัตว์หลายชนิดมีประสาทสัมผัสพิเศษที่สามารถรับรู้ภัยธรรมชาติล่วงหน้าได้ 
๒) ฝูงมดที่กรูเกรียวกันขึ้นมาจากพื้นดินบอกให้เรารู้ว่าฝนจะตกหนักในไม่ช้านี้ 
๓) ถ้าฝูงแมลงสาบพากันไต่ออกมาจากที่ซ่อนวิ่งพล่านไปทุกทิศทุกทาง  
๔) เป็นสัญญาณว่าจะมีพายุและฝนฟ้าคะนองตามมาแน่ๆ
      ๑. ส่วนที่ ๑  ๒. ส่วนที่ ๒
      ๓. ส่วนที่ ๓  ๔. ส่วนที่ ๔
เหตุผลข้อ๑ “ส่วนที่ ๑” ใช้ภาษาทางการ ซึ่งใช้เขียนเรื่องที่เป็นวิชาการ

ระดับของภาษา
๓๔. ข้อใดใช้ภาษาต่างระดับกับข้ออื่น
        ๑. โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังอักเสบเป็นโรคที่เกิดขึ้นแก่เด็กมากกว่าผู้ใหญ่
        ๒. ในตอนแรกนี้ คุณหมอขอกล่าวถึงเรื่องของผิวหนังแห้งก่อนครับ
        ๓. ลูกน้อยควรจะใช้ครีมที่มีความเข้มข้น ไม่ใช้โลชั่นซึ่งผสมน้ำมาก
        ๔. น้องหนูต้องใช้ครีมบำรุงผิวทันทีหลังอาบน้ำ ไม่เช่นนั้นผิวน้องหนูจะแห้งยิ่งขึ้น
เหตุผลข้อ๑ ข้อนี้ใช้ภาษาทางการ ซึ่งใช้เขียนเรื่องที่เป็นวิชาการ
ข้อ ๒ มีคำที่เป็นภาษาปาก คือ ในตอนแรก, คุณหมอ, ครับ
ข้อ ๓ มีคำที่เป็นภาษาปาก คือ ลูกน้อย
ข้อ ๔ มีคำที่เป็นภาษาปาก คือ น้องหนู, ทันที
๓๕. ข้อใดไม่ใช้สำนวนภาษาต่างประเทศ
         ๑. ในสภาวะปัจจุบันพบว่าโรคหลอดเลือดหัวใจตีบที่ปรากฏในกลุ่มคนอายุ ๓๕ - ๔๕ ปีมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี
         ๒. โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ จึงไม่ได้เป็นโรคที่เกิดแก่ผู้สูงอายุอีกต่อไป
         ๓. ในกรณีของหลอดเลือดหัวใจที่ยังตีบไม่มาก เราอาจไม่รู้สึกอาการใดๆ เลย
         ๔. บ่อยครั้งที่อาการต่างๆ จะเกิดขึ้นต่อเมื่อหลอดเลือดหัวใจตีบไปสูงกว่า ๗๐% ขึ้น
เหตุผลข้อ๒ ม่มีสำนวนภาษาต่างประเทศ
ข้อ ๑ “พบว่า” เป็นสำนวนภาษาต่างประเทศ
ข้อ ๓ “ในกรณีของ” เป็นสำนวนภาษาต่างประเทศ
ข้อ ๔ “บ่อยครั้งที่” เป็นสำนวนภาษาต่างประเทศ

คำราชาศัพท์
๓๖. ข้อใดเป็นคำราชาศัพท์ที่ใช้แทนคำกริยาในวงเล็บได้ถูกต้องตามลำดับ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ดู) ผลการดำเนินงานของโครงการอันเนื่องมาจาก
พระราชดำริ แล้ว (ทักทาย) กับราษฎรที่มาเฝ้ารับเสด็จ
       ๑. ทรงทอดพระเนตร ทรงทักทาย
       ๒. ทรงทอดพระเนตร ทรงมีพระราชปฏิสันถาร
       ๓. ทอดพระเนตร ทรงพระราชปฏิสันถาร
       ๔. ทอดพระเนตร มีพระปฏิสันถาร
เหตุผลข้อ๓ เป็นคำราชาศัพท์ที่ถูกต้องตามคำกริยาในวงเล็บทั้ง 2 คำ
ข้อ ๑ “ทรงทอดพระเนตร” ใช้ราชาศัพท์ผิด ไม่ต้องใช้ทรง “ทรงทักทาย” มีคำใช้เฉพาะ คือ ทรงพระราชปฏิสันถาร
ข้อ ๒ “ทรงมีพระราชปฏิสันถาร” ใช้ผิด ต้องใช้ว่า มีพระราชปฏิสันถาร หรือทรงพระ-ราชปฏิสันถาร
ข้อ ๔ “มีพระราชปฏิสันถาร” ใช้ผิด ต้องใช้ พระราชปฏิสันถาร สำหรับพระมหากษัตริย์
๓๗. ข้อใดเมื่อเติม “พระ” ข้างหน้าแล้วใช้เป็นราชาศัพท์สำหรับพระมหากษัตริย์ได้ทุกคำ
        ๑. บรมราชานุสาวรีย์  บรมฉายาลักษณ์  บรมหฤทัย
        ๒. บรมชนกนาถ  บรมโกศ  บรมวงศ์
        ๓. บรมหัตถเลขา  บรมรูป  บรมบพิตร
        ๔. บรมมนเทียร  บรมอัฐิ  บรมเกศา
เหตุผลข้อ๒ เป็นคำราชาศัพท์สำหรับพระมหากษัตริย์ที่ถูกต้องทุกคำ
ข้อ ๑ คำว่า”บรมหฤทัย” ไม่เป็นคำราชาศัพท์ ต้องใช้ว่า พระราชหฤทัย
ข้อ  ๓ คำว่า ”บรมหัตถเลขา”ไม่เป็นคำราชาศัพท์ ต้องใช้ว่า พระราชหัตถเลขา
ข้อ ๔ คำว่า “บรมมนเทียร” กับ “บรมเกศา” ไม่เป็นคำราชาศัพท์ ต้องใช้ว่า พระราชมนเทียร พระเกศา

ทัศนคติ ความเห็น รายงาน และภาษา
๓๘. พาดหัวข่าวข้อใดแสดงความเห็นของผู้เขียน
        ๑. สว.ไม่ผ่าน พรก. ขึ้นภาษีน้ำมัน
        ๒. รมช. ศธ. เร่งหาคนทำผิดรับน้องใหม่
        ๓. ปิด ๓ วัน ๓ ร.ร.ในเขต กทม. หวัดลาม
        ๔. หวั่นโรคไข้หวัดสุนัขคร่า “แพนด้าน้อย”
เหตุผลข้อ๔ มีการแสดงความคิดเห็นโดยใช้คำว่า “หวั่น”
ข้อ ๑, ๒, ๓ เป็นการแจ้งข้อมูล ไม่ได้แสดงความคิดเห็น

๓๙. รายงานทางวิชาการส่วนใดใช้ภาษา ไม่ เหมาะสม
๑) การเข้าพักอาศัยอยู่กับคนในหมู่บ้านทำให้ได้เรียนรู้วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคน
เหล่านั้น / ๒) นักวิจัยพบว่าต้องทำตัวเป็นคนอยู่ง่ายกินง่าย คลุกคลีตีโมงกับชาวบ้าน
เพื่อสร้างความสนิทสนมคุ้นเคย / ๓) ปฏิบัติตามกฎระเบียบของหมู่บ้าน เคารพสิทธิ
ของเจ้าของพื้นที่ / ๔) ไม่ทำสิ่งที่ขัดแย้งกับข้อปฏิบัติของชุมชน และไม่ลบหลู่ความเชื่อ
ของคนในท้องถิ่น
        ๑. ส่วนที่ ๑  ๒. ส่วนที่ ๒
        ๓. ส่วนที่ ๓                ๔. ส่วนที่ ๔
เหตุผลข้อ๒ ส่วนที่ ๒ มีคำที่เป็นภาษาปาก ไม่เหมาะสมสำหรับการเขียนรายงาน
ทางวิชาการ คือคำว่า “คลุกคลีตีโมง”
ข้อ ๑, ๓, ๔ ใช้ภาษาทางการ เหมาะสมกับการเขียนรายงานทางวิชาการ

๔๐. ข้อใดใช้ภาษาเหมาะสมกับการเขียนรายงาน
        ๑. เวลาไม่สบายกะทันหันขึ้นมา ผู้ป่วยต้องไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด
        ๒. ผู้ที่เจ็บไข้ตอนกลางคืนมักพบเจอปัญหาเพราะไม่มีแพทย์เฉพาะทางคอยตรวจรักษา
        ๓. หากผู้ป่วยไปโรงพยาบาลหลังสองทุ่มไปแล้ว จะได้พบแต่แพทย์เวรซึ่งส่วนใหญ่เป็นแพทย์ทั่วๆ ไป
        ๔. โรงพยาบาลเปิด “ศูนย์แพทย์เฉพาะทางเที่ยงคืน” เพื่อตรวจรักษาผู้ป่วยนอกจนถึงเวลา ๒๔.๐๐ น.
เหตุผลข้อ๔ ใช้ภาษาทางการ เหมาะสมกับการเขียนรายงาน
ข้อ ๑ ใช้ภาษาไม่เหมาะสมกับการเขียนรายงาน มีคำภาษาปากคือ“กะทันหัน”
ข้อ ๒ ใช้ภาษาไม่เหมาะสมกับการเขียนรายงาน มีคำภาษาปากคือ “พบเจอ,คอยตรวจรักษา”
ข้อ ๓ ใช้ภาษาไม่เหมาะสมกับการเขียนรายงาน มีคำภาษาปากคือ “หลังสองทุ่มไปแล้ว

1 ความคิดเห็น: